[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การประเมินโครงการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษา ของเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่น ในรูปแบบที่เหมาะสม

เจ้าของผลงาน : นางสาวธนารัตน์ พรหมสุวรรณ
อังคาร ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1908    จำนวนการดาวน์โหลด : 879 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในรูปแบบที่เหมาะสม โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินโครงการตามรูปแบบประเมินซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) และศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ (Best Practice) ของโครงการ
            ดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินโครงการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในรูปแบบที่เหมาะสม เริ่มจากเลือกรูปแบบการประเมินโครงการ แล้วสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น เสนอผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ นำไปสอบถามความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ จำนวน 69 คน ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ (Best Practice) ของโครงการ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในจังหวัดกระบี่ จำนวน 30 คน เรื่อง การพัฒนาแนวทางการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในจังหวัดกระบี่ นำผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการดำเนินงานโครงการ และผลการประเมินโครงการ มาจัดทำเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ (Best Practice) ของโครงการ
            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ ที่มีต่อโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก  เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านบริบท ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และด้านปัจจัยนำเข้าตามลำดับ 2) แนวทางการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ (Best Practice) ของโครงการ มีดังนี้ ด้านบริบท ประกอบด้วย โครงการต้องสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานและความต้องการของพื้นที่จังหวัด มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ชัดเจน กิจกรรมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสามารถนำสู่การปฏิบัติจริงได้ ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ผู้บริหารหน่วยงานให้ความสำคัญกับการดำเนินงานโครงการ บุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการมีความสามารถในการบริหารโครงการ บุคลากรผู้ขับเคลื่อนงานโครงการ มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือ บุคลากรผู้เป็นเครือข่ายความร่วมมือ เห็นถึงความสำคัญของโครงการ การแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับต่าง ๆ สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ ข้อมูลสารสนเทศเป็นปัจจุบันทันสมัย วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน มีคู่มือการดำเนินงาน สถานศึกษามีรูปแบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล ผู้บริหารและครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น จัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง ผู้ปกครองช่วยเหลือสถานศึกษาดูแลเด็ก เตรียมความพร้อมเด็กก่อนเข้าสู่ระบบการศึกษา ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย กระบวนการ มีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเครือข่ายความร่วมมือ การชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานต่อ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ การประเมินความเสี่ยงและการบริหารปัจจัยเสี่ยง ขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสำรวจข้อมูล แก้ไขปัญหา และนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม การติดตาม ประเมินผล สรุปและรายงานผล ด้านผลผลิต ประกอบด้วย จำนวนเด็กที่เข้าสู่ระบบการศึกษา ประสิทธิภาพของการขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือ ระดับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือ ความคุ้มค่าของโครงการ  ระดับความพึงพอใจของผู้ร่วมดำเนินงานโครงการ ผลข้างเคียงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ รวมถึงปัญหา อุปสรรคของการดำเนินงานโครงการ
            ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ระดับจังหวัด ควรเพิ่มนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนจากคณะกรรมการอิสลามจังหวัด และประชาสัมพันธ์จังหวัด เพื่อให้ครอบคลุมภารกิจงาน ควรดำเนินการให้ครอบคลุมประชากรวัยเรียนทั้งจังหวัด ควรมีหน่วยงานหลักในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่นในภาพรวมของจังหวัด ควรพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือ สถานศึกษาควรมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลายรองรับความต้องการของผู้เรียน ควรมีกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อให้ผู้เรียนมุ่งมั่นที่จะศึกษาจนจบการศึกษาและป้องกันการออกกลางคัน
            ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้าง “ตำบลต้นแบบด้านการศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เด็กทุกคนในตำบลได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือตามศักยภาพ ภายใต้การบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ การเชื่อมโยงกันของระบบการศึกษาที่ส่งต่อให้เด็กอยู่ในระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ปกครองและนักเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพครอบครัวในการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ ตามศักยภาพ  ผลที่คาดว่าจะได้รับ ลดจำนวนเด็กด้อยโอกาส เด็กออกกลางคัน และเด็กตกหล่น มีนวัตกรรม รูปแบบความร่วมมือ และแหล่งเรียนรู้ด้านโอกาสทางการศึกษา
คำสำคัญ :  การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษา สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ การปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศ



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565