ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เด็ก 3 ขวบ เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างทั่วถึง
เจ้าของผลงาน : นางสาวธนารัตน์ พรหมสุวรรณ
อังคาร ที่ 11 เดือน มกราคม พ.ศ.2565
เข้าชม : 1522 จำนวนการดาวน์โหลด : 817 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
การสร้างโอกาสทางการศึกษาของเด็ก 3 ขวบ เป็นการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน สงเคราะห์ให้เด็ก 3 ขวบเข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อรับการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนระดับประถมศึกษา ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพบว่ามีเด็ก 3 ขวบ จำนวนมากไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เด็ก 3 ขวบ เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างทั่วถึง (ต่อไปนี้จะเรียกโดยย่อว่า “รูปแบบความร่วมมือ”) มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความร่วมมือในพื้นที่จังหวัดกระบี่ 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานความร่วมมือ แต่ละจังหวัดและตำแหน่งหน้าที่ ที่มีต่อความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6
การดำเนินการมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและพัฒนารูปแบบความร่วมมือ ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เริ่มจากจัดทำร่างรูปแบบความร่วมมือ ประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านหลักความร่วมมือด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือ ด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือและ ด้านกระบวนการดำเนินการความร่วมมือ ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วนำไปทดลองใช้ผ่านโครงการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก 3 ขวบ ในจังหวัดกระบี่เข้าสู่ระบบการศึกษา นำเสนอผล การทดลองใช้รูปแบบความร่วมมือต่อที่ประชุมสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แล้วปรับปรุงรูปแบบความร่วมมือ ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือ ไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 โดยสอบถามความคิดเห็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานความร่วมมือฯ ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 จำนวน 447 คน นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบความร่วมมือ จัดทำคู่มือการนำรูปแบบความร่วมมือไปใช้และประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานความร่วมมือแต่ละจังหวัดและตำแหน่งหน้าที่ที่มีต่อความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือ ไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความร่วมมือ ด้านหลักการความร่วมมือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของโอกาสทางการศึกษา ร่วมมือกันแบบพันธมิตรที่ยอมรับซึ่งกันและกัน วางแผนงานร่วมกันในรูปแบบบูรณาการและทำงานเป็นทีม ด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือ ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานความร่วมมือ สร้างระบบความร่วมมือที่โปร่งใสตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน มีคณะกรรมการขับเคลื่อนงานทุกระดับครอบคลุมทุกภารกิจงาน ประสานงาน สื่อสาร และบริหารความขัดแย้ง ด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือ ประกอบด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนความร่วมมือ แผนบูรณาการพัฒนาเด็ก/ครู/สถานศึกษาปฐมวัยระยะสั้นและระยะยาว ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องใช้วางแผนส่งเสริม สนับสนุน สงเคราะห์ ให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา ด้านกระบวนการดำเนินงานความร่วมมือ มีการประสานงานความร่วมมือตามวิธีการขั้นตอนที่กำหนด บูรณาการความร่วมมือ ประชุมคณะกรรมการทุกระดับ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ การส่งเสริมสนับสนุนสงเคราะห์เพื่อให้เด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสถานศึกษาระดับปฐมวัยเพื่อรองรับการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็ก 3 ขวบ 2) ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 โดยรวมมีความเหมาะสม/เป็นไปได้ในการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านหลักการความร่วมมือ ด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือด้านกระบวนการดำเนินงานความร่วมมือ ด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือ 3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานความร่วมมือฯ แต่ละจังหวัดและตำแหน่งหน้าที่ที่มีต่อความเหมาะสม/ความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบความร่วมมือไปใช้ในจังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค 6 พบว่า แต่ละจังหวัด มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกันในบางด้าน ด้านที่แตกต่างกันคือ ด้านหลักการความร่วมมือและด้านกระบวนการดำเนินงานความร่วมมือ ส่วนด้านโครงสร้างและกลไกความร่วมมือและด้านทรัพยากรที่ใช้สนับสนุนความร่วมมือไม่แตกต่างกัน ส่วนกรณีตำแหน่งหน้าที่แตกต่างกัน ความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน
รูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาขึ้น เป็นแนวทางหนึ่งในการนำเด็ก 3 ขวบ เข้าสู่ระบบการศึกษา สามารถปรับใช้ในเรื่องการเกณฑ์เด็กในเขตพื้นที่บริการเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การติดตามเด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้น
คำสำคัญ : รูปแบบความร่วมมือ เด็ก 3 ขวบ สำนักงานศึกษาธิการภาค 6
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|