[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563

เจ้าของผลงาน : นายธีรพล ใสบริสุทธิ์
พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 2820    จำนวนการดาวน์โหลด : 1110 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :
ชื่อผลงานวิชาการ        รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563
ผู้ประเมิน                  นายธีรพล   ใสบริสุทธิ์
โรงเรียน                   โรงเรียนบ้านควนอารี
                             ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
                             สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่ประเมิน                ปีการศึกษา 2563
 
บทสรุป
 
รายงานการประเมินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนอารี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า ประเมินกระบวนการและประเมินผลผลิตของโครงการ โดยวัตถุประสงค์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษา   ปีที่ 4-6 จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 26 คน               กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน และประชากรครู จำนวน 6 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 ลักษณะ รวมทั้งสิ้น 8 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .88-.97 และแบบบันทึกผลสัมฆทธิ์ระดับสถานศึกษา และแบบบันทึกผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ฉบับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS   
ผลการประเมินพบว่า
1.  ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.36, S.D. = .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.33, s= .58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (m = 4.14, s= .63) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10                    ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (m = 4.28, s= .46) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน รองลงมาได้แก่ ตัวชี้ตัวชี้ด้านบุคลากร (m = 4.28, s= .67) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 2 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และตัวชี้วัดงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (m = 3.72, s= .72) อยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็น              ของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน                     โดยภาพรวมทั้ง 3 กลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (m = 4.09, s= .07) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เท่ากัน ( = 4.08, S.D. = .06) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.  ผลการประเมินด้านผลผลิต จำแนกเป็น
    4.1  คุณภาพการขับเคลื่อนการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัดค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = .66) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินรองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = .70) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมินส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน (m= 4.31, s= .64) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
    4.2  ผลการประเมินคุณภาพของนักเรียนตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 76.10 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET : Ordinary National Education Testing) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านควนอารี จังหวัดตรัง พบว่า ปีการศึกษา 2562  มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 35.33 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 39.25 ปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าปีการศึกษา 2562 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
    4.3  แสดงผลการประเมินความสามารถของนักเรียน ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแพร่สู่ครอบครัวและชุมชน ตามความคิดเห็นของ ครู และผู้ปกครอง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมินโดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีค่าสูงสุด (m = 4.40, s= .61)  มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = .67)  ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามลำดับ
    4.4  ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำแนกตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนักและเกณฑ์การประเมิน โดยภาพรวม          ทุกกลุ่มที่ประเมินและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.36, S.D. = .70) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง (m = 4.35, s= .73) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนกลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 4.19, S.D. = .63) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
สรุปภาพรวมทั้ง  4  ด้าน  ค่าน้ำหนัก 100%  ผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด                     ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 100  ผ่านเกณฑ์การประเมิน
 
 
 
 
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. การขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมี     การวางแผนการดำเนินการ การติดตาม ประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนา                 อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
2.       ควรนำรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ไปประยุกต์ใช้ในการประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียน เพื่อตรวจสอบสภาพแวดล้อมของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ โดยการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนการดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เพื่อนำสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการวางแผนแก้ปัญหา  หรือพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ  และก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน
3.  กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ควรส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณ กำกับ ติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                 อย่างต่อเนื่อง เพื่อผดุงความคงทนต่อเนื่อง และยั่งยืนในการพัฒนา
ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
1.  ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการโดยใช้รูปแบบอื่นๆ                  ในกรณีที่เป็นโครงการย่อยระดับกลุ่มงาน และควรประเมินโครงการระดับองค์กร โดยใช้รูปแบบ            การประเมินแบบซิปป์ หรือซิปป์โมเดล (CIPP Model)
2.  ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาตามแนวหลักปรัชญา             ของเศรษฐกิจพอเพียง สู่ความยั่งยืนของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    
 
 
 
 



ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ krabiedu@krabiedu.go.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป