ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : พลวัตทางภาษาสู่การทัศนาในยุคดิจิทัล โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม
เจ้าของผลงาน : เด็กหญิงณัฐณิชา ทัพโยธา และคณะ
จันทร์ ที่ 8 เดือน กรกฏาคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 2058 จำนวนการดาวน์โหลด : 1167 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง พลวัตทางภาษาสู่การทัศนาในยุคดิจิทัล โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อผู้จัดทำ เด็กหญิงณัฐณิชา ทัพโยธา ม. 3/2
เด็กหญิงณัฐชยา คำสิงห์ ม. 3/2
เด็กหญิงรักษ์วลี ทัศน์เจริญ ม. 2/2
สถานศึกษา โรงเรียนผดุงนารี อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
ปรากฏการณ์ทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสาร กับสังคมมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกในการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสารใหม่ๆ รูปแบบการสื่อสาร พฤติกรรมในการสื่อสาร รวมไปถึงวัฒนธรรมการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป ภาษาไทยเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ภาษานั้นก็เปรียบดั่งสิ่งที่ชีวิต ที่ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปในแต่ละช่วงอายุของคน อาจจะมีหลายสาเหตุที่ทำให้ภาษานั้นเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นโครงงานภาษาไทยนี้เป็นการศึกษาพลวัตทางภาษาสู่การทัศนาในยุคดิจิทัล โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้ศึกษาจากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตติดล้านวิว ที่กำลังเป็นที่นิยม จำนวน 15 เพลง จุดประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อศึกษา สำรวจ รวบรวมคำศัพท์ในการใช้ภาษาไทยในยุคดิจิทัลจากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตล้านวิว 2. เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางภาษา ในยุคดิจิทัลจากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตล้านวิว 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจและสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในยุคดิจิทัลจากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตล้านวิว วิธีดำเนินงานโครงงานภาษาไทยนี้เป็นโครงงานประเภทเชิงสำรวจ โดยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า จากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม
ผลการศึกษา การศึกษาพลวัตทางภาษาสู่การทัศนาในยุคดิจิทัล โรงเรียนผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม พบว่า พลวัตทางภาษาสู่การทัศนาในยุคดิจิทัล จากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตล้านวิว มีการเปลี่ยนแปลงทางภาษา ในการเลือกใช้คำในเพลงลูกทุ่งภาษาถิ่นนั้นจะใช้คำง่ายๆ ไม่ค่อยมีคำศัพท์ยาก เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา มีลีลาเฉพาะ คำที่ใช้จะเป็นภาษาถิ่นพื้นฐาน สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล ความรู้สึกนึกคิด สื่อความหมายของบทเพลงและสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรม นอกจากนี้การจัดวางคำภาษาไทยถิ่นในบริบทแวดล้อม ผู้ฟังสามารถเดาความหมายของเพลงได้เช่นกัน ซึ่งนับเป็นเสน่ห์ และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเพลงลูกทุ่ง และระดับความพึงพอใจของนักเรียนโรงเรียนผดุงนารีที่มีต่อการสร้างความตระหนักในการใช้ภาษาไทยที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางภาษาในยุคดิจิทัลจากเพลงลูกทุ่งยอดฮิตล้านวิว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.40, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อโดยข้อที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ส่งเสริมให้นักเรียนมีการร่วมมือในการทำงานกลุ่ม (ค่าเฉลี่ย= 4.61, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.64) ส่วนข้อที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (ค่าเฉลี่ย= 4.14, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.57) และสำหรับข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้านการใช้ภาษาไทยและส่งเสริม อนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติไทย และเพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยสืบไป
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|