ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : รายงานโครงการนิเทศภายในตามวงจรคุณภาพ โรงเรียนบ้านเขาแก้ว
เจ้าของผลงาน : นายธนากร ทับไทร
พฤหัสบดี ที่ 31 เดือน มกราคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 4837 จำนวนการดาวน์โหลด : 1908 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการนิเทศภายในตามวงจรคุณภาพ
โรงเรียนบ้านเขาแก้ว
ผู้ประเมิน : ธนากร ทับไทร
ปีประเมิน : 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการนิเทศภายในตามวงจรคุณภาพ โรงเรียนบ้านเขาแก้วครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ ในด้านผลการดำเนินงานตามโครงการ ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู และด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการได้แก่ บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้รูปแบบซิปป์(CIPP Model) แหล่งข้อมูลประเภทบุคคล ประกอบด้วยกลุ่มประชากร 3 กลุ่ม คือ บุคลากร จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 36 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านเขาแก้ว ปีการศึกษา 2560 จำนวน 91 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 10 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 7 ฉบับ และแบบบันทึกข้อมูลสารสนเทศ จำนวน 3 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามและบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประมวลผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการนิเทศภายในตามวงจรคุณภาพ โรงเรียนบ้านเขาแก้ว พบว่า ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 15 ตัวชี้วัด โดยผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด จำนวน 4 ตัวชี้วัด และระดับมาก จำนวน 11 ตัวชี้วัด ซึ่งสาระโดยสรุปของผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ มีดังนี้
1. การประเมินบริบทของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
1.1 ด้านความต้องการจำเป็นของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.2 ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 ด้านกิจกรรมต่างๆของโครงการ อยู่ในระดับมาก
1.4 ด้านผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ อยู่ในระดับมาก
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 3 ตัวชี้วัด มีดังนี้
2.1 ด้านบุคลากร อยู่ในระดับมาก
2.2 ด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ อยู่ในระดับมาก
2.3 ด้านระยะเวลาและงบประมาณ อยู่ในระดับมาก
3. การประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
3.1 ขั้นวางแผนการดำเนินการ (P) อยู่ในระดับมาก
3.2 ขั้นดำเนินกิจกรรมตามแผน (D) อยู่ในระดับมาก
3.3 ขั้นนิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล (C) อยู่ในระดับมาก
3.4 ขั้นการแก้ไข ปรับปรุงเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในอนาคต (A) อยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการประเมินตัวชี้วัด 4 ตัวชี้วัด มีดังนี้
4.1 ผลการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
อยู่ในระดับมาก
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้
4.3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และทุกระดับชั้น โดยภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 6.03
4.3.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) อยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างระดับโรงเรียนกับระดับประเทศในปีการศึกษา 2560 หลังดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ย 0.44
4.4 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1) จากการประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินระดับมากที่สุด ซึ่งเมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับโรงเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและศิลปะในปีการศึกษา 2560 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2559 น้อยที่สุด ไม่ถึงร้อยละ 3 จึงควรมีการเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว โดยการวิเคราะห์หาสาเหตุ และวางแผนการพัฒนาร่วมกัน ส่วนผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 พบ2กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนน้อยกว่าระดับประเทศมากที่สุดคือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และภาษาต่างประเทศ จึงควรมีการวิเคราะห์หาสาเหตุของผลสัมฤทธิ์ที่ต่ำ โดยการวิเคราะห์ข้อสอบ พิจารณาเนื้อหา รูปแบบของข้อสอบที่นักเรียนได้คะแนนต่ำ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนายกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาต่อไป
2) จากการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ บุคลากรเห็นว่า การตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรมด้วยวิธีการที่หลากหลาย การนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานระหว่างดำเนินโครงการ และการนำรายงานผลการดำเนินโครงการไปพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งต่ำกว่ารายการอื่น ๆจึงควรมีการปรับปรุงการดำเนินงานในประเด็นดังกล่าวในปีการศึกษาต่อไปเพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
1) ควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศของโรงเรียนอย่างครบถ้วนเพื่อใช้ในการประเมินโครงการต่าง ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในปีการศึกษาต่อไป
2) ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบกิจกรรมหรือเทคนิคการนิเทศภายในอื่น ๆเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
3) ควรมีการประเมินโครงการทุกโครงการที่จัดขึ้นในโรงเรียนเพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนทั้งระบบ
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|