[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสูง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)

เจ้าของผลงาน : นางจารุวรรณ ควนวิไล
ศุกร์์ ที่ 25 เดือน มกราคม พ.ศ.2562
เข้าชม : 4632    จำนวนการดาวน์โหลด : 1942 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :

บทสรุปผู้บริหาร

 
          การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งสูง โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน กระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการ และผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การแก้ไขปัญหาของนักเรียน การส่งต่อนักเรียน การมีวินัยของนักเรียน ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู มีประชากรที่ศึกษา 88 คน ประกอบด้วย นักเรียน 44 คน ผู้ปกครอง 38 คน และครู 6 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ การหาความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยใช้ค่า IOC และการหาความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา     ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัด ดังนี้ (1) ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ความต้องการจำเป็นของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (2)ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และร้อยละของงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงานผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด (3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุดทั้งตัวชี้วัดร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ และร้อยละของการติดตามโครงการ (4) ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ระดับมากที่สุด ได้แก่ ร้อยละของนักเรียนที่ครูรู้จักเป็นรายบุคคล ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการคัดกรอง ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการส่งต่อ ระดับมาก ได้แก่ ร้อยละของนักเรียนที่มีวินัยเพิ่มขึ้น ระดับความ  พึงพอใจของนักเรียน ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง ระดับความพึงพอใจของครู และร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ

ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ krabiedu@krabiedu.go.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป