[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

เจ้าของผลงาน : นางอุไรย์ เพ็งแก้ว
เสาร์์ ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2561
เข้าชม : 2663    จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย”  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (2) สร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย” วิชาประวัติศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ตามเกณฑ์ 80/80 (3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย”  วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน  และ (4) ประเมินรูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย”  วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) รูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ “อาณาจักรสุโขทัย” จำนวน 3 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่องรุ่งอรุณที่สุโขทัย  เล่มที่ 2 เรื่องสังคมวัฒนธรรมสุโขทัย  และเล่มที่ 3 เรื่อง บุคคลสำคัญสร้างสรรค์วัฒนธรรม  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอน จำนวน 12 แผน รวม 15 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าร้อยละ  และค่าที  (t – test) 
 
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอน  พบว่าประกอบด้วยข้อมูลในด้าน 1) การพัฒนาศักยภาพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้  2) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  4) การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้  5) การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานกลุ่ม โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ “อาณาจักรสุโขทัย”  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และสร้างชิ้นงานด้วยทักษะกระบวนการกลุ่มในลักษณะ Active Leaning
 
           2.  ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชาประวัติศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4ประกอบด้วยรูปแบบการสอน 5 ขั้นตอน  ได้แก่  1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Lead – in)  2) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (Group)  3) ขั้นนำเสนอผลงานร่วมกัน (Present)  4) ขั้นสรุปผลและประเมินผล (Sum up and Evaluate)  และ 5) ขั้นนำไปใช้  (Apply) รูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพโดยรวม E1/E2  เท่ากับ 87.12/ 87.83  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 
           3. ผลการใช้รูปแบบการสอน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย”  เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชาประวัติศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
           4. ผลการประเมินรูปแบบการสอน  โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้  “อาณาจักรสุโขทัย” เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30



งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565