ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
นวัตกรรมทางการศึกษา |
|
เรื่อง : รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เจ้าของผลงาน : นางสุปราณี ทับโทน
อังคาร ที่ 26 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2561
เข้าชม : 2248 จำนวนการดาวน์โหลด : 1856 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
การวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3” เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุระสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 32) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 33)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4)เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นเนื้อหาสาระในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในส่วนของตัวชี้วัดระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560โรงเรียนหนองทะเลวิทยา ต.หนองทะเล อ.เมือง จ.กระบี่จำนวน 33 คนได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวแปรตาม (Dependent Variables) ได้แก่ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยดำเนินการการตามขั้นของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) 4 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย (Research: ) ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนา (Development: ) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development D&D) ผู้วิจัยได้พัฒนาและหาคุณภาพ ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ตรวจสอบโครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ และนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research: ) เป็นการทดลองใช้ (Implementation: I ) รูปแบบการเรียนการสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ในขั้นนี้ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development: ) เป็นการประเมินผล (Evaluate: E) การประเมินและแก้ไขรูปแบบการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นการนำผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนที่ 3ซึ่งเป็นผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรูปแบบ ได้แก่ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3(CIRC Model)ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ1) ขั้นกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น(Curiosity) 2) ขั้นการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน(Interaction)3) ขั้นพิจารณาทบทวน (Review)และ 4) ขั้นการจัดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา(Cognitive restructuring)
2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดคอนสตรัคติวิซึม เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (CIRC Model)เท่ากับ 84.96/82.86สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (CIRC Model)นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน(CIRC Model)ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดนักเรียนมีความคิดเห็นว่านักเรียนได้ฝึกวิเคราะห์โดยการชี้แนะของอาจารย์รวมทั้งฝึกด้วยตนเองและฝึกด้วยกับเพื่อนเป็นกลุ่มในระดับมากที่สุด เป็นอันดับ 1และมีความคิดเห็นว่านักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูและเพื่อนในระดับมากเป็นอันดับสุดท้าย
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|