บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิค KWLPLUS
สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พร้อมทั้งตรวจสอบแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วย
การหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อน
เรียนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตลอดจนศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี
ต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนบ้านลาทับ จานวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วย
วิธีการจับสลาก โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความ ด้วยเทคนิค KWL-PLUS สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จานวน 5 เล่ม 2) แบบ
ประเมินคุณภาพแบบฝึกทักษะ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
จานวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ผู้วิจัยได้ดาเนินการสอนและเก็บรวบรวม
ข้อมูลด้วยตนเอง ใช้เวลาทดลองสอนสัปดาห์ละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง รวม 22 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการ
วิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วย t – test ไม่อิสระ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิค KWL-PLUS สาหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า คุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53
2. การตรวจสอบแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ พบว่า
2.1 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เท่ากับ 85.16 /86.21
2.2 ประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เท่ากับ 0.75 หรือร้อยละ 75.00
2.3 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการ
เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีค่าเฉลี่ย 86.21 ซึ่งสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนด้วยแบบฝึก
ทักษะการอ่านจับใจความ ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 44.03 อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01
2.4 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ นักเรียนมีความ
คิดเห็นว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยได้ค่าเฉลี่ย 4.60
|