[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
E-SERVICE
เมนูหลัก
เอกสารเผยแพร่ สพฐ.
ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่
กลุ่มงาน สพป.กระบี่

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม

เจ้าของผลงาน : นางสัตจะ ธรรมวิสุทธิ์
จันทร์ ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560
เข้าชม : 2660    จำนวนการดาวน์โหลด : 2106 ครั้ง
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World

บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
 
ชื่อเรื่อง         การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม
 
ชื่อผู้ศึกษา     นางสัตจะ  ธรรมวิสุทธิ์
 
                   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลชั้นปีที่  2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ของโรงเรียนอนุบาลกระบี่ จำนวน 32 คน โดยดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม จำนวน 24 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดแก้ปัญหา แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความสามารถการคิดแก้ปัญหาและแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
                   ผลการศึกษาพบว่า (1) ประสิทธิภาพของกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติ
การทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม มีประสิทธิภาพ (E₁/E₂) เท่ากับ 91.40/88.13 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 (2) ผลการพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่าการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม สามารถพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ (3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่า หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติของเด็กปฐมวัย มีความสามารถการคิดแก้ปัญหาสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อย่างเห็นได้ชัดเจน (4) ผลการศึกษาด้านความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการกลุ่ม ปรากฏว่า เด็กปฐมวัย มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


ดาวน์โหลด  ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร  จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 9/พ.ย./2565
      รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โรงเรียนบ้านศรีอรุณ จังหวัดมหาสารคามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของโรงเรียนบ้านหนองล่าม จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3 28/ก.ย./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565
      รายงานการโครงการประเมินส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านกอตง ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ปีการศึกษา 2563 31/ก.ค./2565