ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558
เจ้าของผลงาน : นายสุวิทย์ กังแฮ
พุธ ที่ 30 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560
เข้าชม : 4885 จำนวนการดาวน์โหลด : 0 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ในประเด็นเกี่ยวกับ 4.1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา 4.2) การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ครู และบุคลากร 4.3) ผลการประเมินของคณะกรรมประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) และ 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการ โดยนำรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) มาประยุกต์เป็นกรอบในการประเมินโครงการ กลุ่มตัวอย่างในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ครู 7 คน นักเรียน 58 คน ผู้ปกครอง 45 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบบบันทึกผลการประเมินตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ส 3.1 และแบบบันทึกผลการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows
สรุปผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 โดยภาพรวม ทุกประเด็นและทุกตัวชี้วัดการประเมิน ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสม ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 พบว่า โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 พบว่า
4.1 ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา ผ่านการประเมินตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ ร้อยละ 100
4.2 การนำหลักหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียน ครู และบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ผลการประเมินของคณะกรรมประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) โดยภาพรวม โรงเรียนบ้านหนองชุมแสงผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับคุณภาพการปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามลำดับ
4.4 ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 ของนักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านหนองชุมแสง ปีการศึกษา 2558 มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เพื่อเผยแพร่และการนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน
2. ควรวิเคราะห์จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของการดำเนินโครงการ เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีผลการดำเนินงานที่เป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
3. ควรมีการวิจัยเชิงพัฒนาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ เพื่อให้ได้ข้อค้นพบที่เป็นปัจจัยสำคัญ ในการพัฒนาโครงการและการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบยั่งยืน
4. ควรมีการสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเดียวกัน หรือระหว่างโรงเรียนที่อยู่ต่างกลุ่มโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเดียวกัน หรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาสถานศึกษาสู่การเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
5. โรงเรียนควรมีการสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาการดำเนินโครงการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการดำเนินโครงการเชิงบูรณาการ ทั้งด้านความรู้ บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ และงบประมาณในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
|
|
|
|
 |
|
 |
กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<<
1
>>
ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ krabiedu@krabiedu.go.th เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป
|
|
|
 |  |  |
|