ประกาศต่างๆ ของ สพป.กระบี่ |
|
|
|
 |
 |
 |
|
|
|
 |  |  |
|
|

 |
|
 |
|
งานวิจัยการศึกษา |
|
เรื่อง : รายงานผลการใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านศาลาพระม่วง
เจ้าของผลงาน : นางสาวสุธาทิพย์ อภิชนวณิช
อังคาร ที่ 30 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560
เข้าชม : 3164 จำนวนการดาวน์โหลด : 2295 ครั้ง
|
AXTUS
AXTUS Want To Rule The World
|
|
บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านศาลาพระม่วง
ผู้วิจัย นางสาวสุธาทิพย์ อภิชนวณิช
ปีที่ศึกษาค้นคว้า 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านศาลาพระม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 15 คน เป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่านจำนวน 24 แผน หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน จำนวน 12 เล่ม แบบทดสอบวัดความพร้อมด้านการอ่าน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) การทดสอบค่าที (t - test) แบบ Dependent Group และค่าประสิทธิภาพของหนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน (E1/E2)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.00/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีความพร้อมด้านการอ่านสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 หลังการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือคำคล้องจองเพื่อพัฒนาความพร้อมด้านการอ่าน อยู่ในระดับมาก
|
|
ดาวน์โหลด ( บทคัดย่อ) |
|
|
 |
|
 |
|
|
|
 |  |  |
|