บทคัดย่อ :
การปลูกฝังในด้านคุณธรรมและจริยธรรมอย่างยั่งยืนเป็นการพัฒนาเยาวชนไทยไปสู่การเป็นคนที่มีคุณภาพมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1. เพื่อประเมินความเหมาะสมของบริบทที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ 2. เพื่อประเมินความเหมาะสมของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินงานตามโครงการ 3. เพื่อประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานของโครงการ 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการ ซึ่งการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนบรบือวิทยาคาร จังหวัดมหาสารคาม ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ผู้บริหารและครู จำนวน 92 คน 2) นักเรียน จำนวน 322 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 322 คน ใช้ตารางการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) รวมทั้งสิ้น จำนวน 56 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.8 ถึง 1.0 ชุดที่ 1 ด้านบริบท ค่าอำนาจจำแนก 0.446 - 0.879 ค่าความเชื่อมั่น 0.927 ชุดที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าอำนาจจำแนก 0.441 - 0.898 ค่าความเชื่อมั่น 0.919 ชุดที่ 3 ด้านกระบวนการ ค่าอำนาจจำแนก 0.325 - 0.929 ค่าความเชื่อมั่น 0.916 และชุดที่ 4 ด้านผลผลิต ค่าอำนาจจำแนก 0.406 - 0.912 ค่าความเชื่อมั่น 0.955 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
|